หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อองค์กรสมัยใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดการบรรยายพิเศษ (ออนไลน์) หัวข้อ สัญศาสตร์กับการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุดถนอม รอดสว่าง อาจารย์ประจำหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 9.00-12.00 น. โดยมีรายละเอียดของการบรรยาย ดังนี้
รากฐานของสัญศาสตร์
ในช่วงแรก วิทยากรได้พูดถึงสัญศาสตร์ว่าคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร และได้แนวคิดมาจากใคร
- สัญศาสตร์มีรากฐานมาจากนักทฤษฎี 3 คน ได้แก่ เพียร์ซ เดอ โซซูร์ และโรล็องด์ บาร์ตส์ ทั้ง 3 คน มีแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับสัญวิทยาที่แตกต่างกัน โดยเพียร์ซจะเน้นเรื่ององค์ประกอบของสัญญะ ส่วนเดอ โซซูร์จะเน้นเรื่องการสื่อความหมายและประเภทของสัญญะ และโรล็อง บาร์ตส์จะเน้นในเรื่องของการสื่อความหมายและการการตีความ แนวคิดเกี่ยวกับสัญศาสตร์ เกิดจากการพัฒนาและต่อยอดของแนวคิดของทั้ง 3 คน
- ปัจจุบัน นักวิชาการเลือกใช้แนวคิดของบาร์ตส์ในชีวิตประจำวัน เพราะ การตีความได้อย่างถูกต้องจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานก่อน และการเข้าใจธรรมชาติของสัญญะแต่ละชนิดจะทำให้สามารถเลือกใช้สัญญะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิเคราะห์แนวคิดเป็นสิ่งที่สนุกและน่าตื่นเต้น เปรียบเหมือนกับได้พบโลกใบใหม่ เพราะเมื่อยุคสมัยเปลี่ยน นิยามก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งเหมือนกับสายงานนิเทศศาสตร์
สัญศาสตร์กับงานวิจัย
หลังจากวิทยากรได้อธิบายถึงที่มาของสัญศาสตร์แล้ว วิทยากรจึงยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสัญศาสตร์ และอธิบายเพิ่มเติมว่า สัญศาสตร์เหมาะกับการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ประเภทใด
- การวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและบันทึกภาคสนาม
- การวิจัยเชิงสังคม ใช้ในการช่วยตีความข้อมูลได้ในหลากมิติ เช่นวัฒนธรรม ความเชื่อ การกำหนดค่านิยมและอุดมการณ์ของสังคม สัญศาสตร์จะช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
- การวิจัยเชิงวัฒนธรรมศึกษา เช่น ถ้าเราเห็นวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์ของชุมชนแล้ว เราสามารถตีความสิ่งที่เขาจะสื่อได้ ก็จะทำให้เข้าใจในวิถีความคิดของคนในชุมชนมากขึ้น
- สุดท้ายการนำแนวคิดด้านสัญศาสตร์มาช่วยตั้งคำถามในการศึกษา จะช่วยให้เราได้เห็นถึงมุมมองประเด็นที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับนิเทศศาสตร์ได้ละเอียดและชัดเจน
คำแนะนำในการทำวิจัยโดยใช้แนวคิดสัญศาสตร์
เพื่อให้นักศึกษาปริญญาโทของเราได้เก็บข้อมูลเพื่อไปประกอบการตัดสินใจในการทำวิจัย เริ่มต้นด้วย
- ศึกษาข้อมูลที่จะทำวิจัยให้รอบด้าน
- นำทฤษฎีที่ได้มาตีความข้อมูลและห้ามตีความโดยอคติเด็ดขาด เพราะถ้าเราไม่เข้าใจในบริบทของเรื่องที่ทำจะทำให้การตีความผิดพลาด
- วิเคราะห์แบบ Textual analysis เพื่อทำความเข้าใจต่อกระบวนการสร้างสื่อ หรือ Content analysis จะเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของความหมายสัญญะที่ปรากฏอยู่ในภาพ ควรที่จะศึกษาพวกหนังสือ วิดีโอ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อต่างๆที่เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์
- เน้นการวิเคราะห์ภาษา รวมถึง ภาษาภาพ จะช่วยทำให้เข้าใจโครงสร้างและวิวัฒนาการของสังคม
- ถ้ามีการลงพื้นที่สัมภาษณ์ การเป็นนักนิเทศศาสตร์จะต้องมีการสังเกตสิ่งรอบข้าง สภาพแวดล้อมว่าเขามีวิถีชีวิตอย่างไร เช่น สังเกตการแต่งตัว ข้าวของเครื่องใช้ และนำมาวิเคราะห์
ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัญศาสตร์ในงานวิจัย
วิทยากรได้เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เกี่ยวกับสัญศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สัญศาสตร์ในงานสร้างสรรค์ทางนิเทศศาสตร์ และงานวิจัยที่นำแนวคิดสัญศาสตร์มาประยุกต์ใช้
ประสบการณ์เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์วิทยากรที่เกี่ยวข้องกับสัญศาสตร์ คือ การจัดนิทรรศการ วิทยากรเล่าว่าเคยจัดนิทรรศการเกี่ยวกับหน้ากากซึ่งเป็นการถ่ายทอดการเป็นสัญศาสตร์อย่างแท้จริง และได้แชร์ประสบการณ์ภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ “จิบอินเดียผ่านเลนส์” ซึ่งเป็นภาพถ่ายจากการเดินทางไปยังประเทศอินเดียของวิทยากร หากอธิบายในเชิงสัญญะ ภาพถ่ายชีวิตคนอินเดียเป็นการถ่ายทอดความเป็นอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ สิ่งก่อสร้าง หรือแม้แต่ผู้คน ทั้งหมดนี้เป็นการสื่อความหมายโดยตรง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความงดงาม วิถีชีวิตที่เรียบง่าย สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต แต่การที่เราจะวิเคราะห์หรือตีความได้ เราต้องเข้าใจบริบททางสังคมด้วย
การนำแนวคิดสัญศาตร์มาประยุกต์
- ในช่วงสุดท้าย วิทยากรพูดถึงการนำแนวคิดสัญศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อ โดยยกตัวอย่างโครงการผลิตสื่อที่ผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดออกมาสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงในสังคม แม้จะมีการอธิบายวัตถุประสงค์เพื่อบอกคนดูว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำก็ตาม แต่ยังมีภาพที่เป็นความรุนแรงอยู่ ผู้วิจัยจึงแนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนโดยใช้สัญญะในการเล่าเรื่อง โดยไม่ให้มีภาพความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น การใช้แผนภูมิหรือกราฟในการนำสนอ เป็นต้น
ในช่วงสุดท้าย เป็นการถามตอบระหว่างวิทยากรและผู้เข้าฟังการบรรยาย เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสัญศาสตร์และงานวิจัย ซึ่งผู้เข้าฟังการบรรยายได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก และสามารถนำสัญศาสตร์ไปต่อยอดและพัฒนากับงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ได้อย่างแน่นอน
MCA สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
》อยู่ที่ไหนก็สมัครเรียนได้ 》สมัครเรียนออนไลน์ 》สัมภาษณ์ออนไลน์
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
02-855-0471/0416/1590
#ปริญญาโทปัญญาภิวัฒน์ #เรียนโทปัญญาภิวัฒน์ #ปริญญาโทmca #สมัครเรียนปริญญาโท #เรียนโทนิเทศ #ทุนการศึกษาปริญญาโท #ปริญญาโทนิเทศ