เมื่อช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนไป จากสื่อเก่ามาเป็นสื่อใหม่ เด็กนิเทศ PIM จึงมีแนวคิดอยากริเริ่มการบริหารจัดการ Content บน Youtube เพื่อสร้างยอดการติดตามในการช่วยขับเคลื่อนสังคมและสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้กับบริษัท toolmorrow เด็กนิเทศ PIM คนนั้นก็คือนายต่อลาภ ลาภพาณิชยกุล (รหัส59) สาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ต่อลาภมองว่าปัจจุบัน Youtube เข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่อายุ 18 -24 ปี เพราะมีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่คอยช่วยซัพพอร์ต ทำให้วิถีชีวิตต้องการความทันสมัยและก้าวทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ Youtube จึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่สามารถเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูล และช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การโฆษณาต่าง ๆ ผ่านทาง Youtube หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์ Social Network เช่น Facebook หรือแม้กระทั่ง Twitter
Youtube ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มสื่อที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เนื่องจากคุณสมบัติของ Youtube ที่สามารถนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบวิดีโอเป็นหลักได้หลายรูปแบบ ทั้งในเรื่องเวลาและระยะทาง อีกทั้งระบบอินเตอร์เน็ตทำให้ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาดูวิดีโอได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยข้อดีดังกล้าวทำให้บริษัทสถานประกอบการเกือบหรือแม้แต่ช่องโทรทัศน์ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ต่างก็มีความต้องการจัดทำ Youtube channel ของตนเองขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการบรรลุเป้าหมายหลายๆ ประการ เช่นการโฆษณาขายสินค้าและบริการในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในเชิงธุรกิจ หรือการใช้ Youtube channer เป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือแคมเปญต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับ
ซึ่ง Youtube นั้นก็เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการสนองภารกิจดังกล่าว ดังนั้น Youtube จึงเป็นแพลตฟอร์มที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ให้ความสำคัญโดยมีจุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการค้าขาย และหากมีการนำเสนอ Youtube channel ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เนื้อหาน่าสนใจ มีความน่าเชื่อถือ หรือได้รับความบันเทิงก็จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือลูกค้าได้มากไม่แพ้สื่อประเภทอื่น ๆ อีกด้วย
ต่อลาภเห็นว่า Youtube ของ toolmorrow องค์กรที่ตนได้ฝึกปฏิบัติงานมีบทบาทเดียว นั้นก็คือการลงวิดีโอแคมเปญต่างๆ ซึ่งยังไม่มีการจัดหมวดหมู่หรือการบริหารจัดการที่เป็นระบบทำให้ Youtube ของทาง toolmorrow กลายเป็นพื้นที่เก็บผลงานวิดีโอของ toolmorrow เพียงอย่างเดียว จากการที่ต่อลาภได้ฝึกปฏิบัติงานในส่วน Content ออนไลน์ของ toolmorrow พบว่าการทำงานโดยส่วนมากจะนำเนื้อหารูปแบบวิดีโอคอนเทนต์มาลงเฉยๆ ไม่ได้มีการโปรโมทเท่ากับช่องทาง Facebook
ต่อลาภจึงได้พัฒนา Youtube toolmorrow ให้เป็นช่องทางที่พร้อมซัพพอร์ตกลุ่มคนดูพร้อมกับพัฒนาให้ สามารถทำงานร่วมกับช่องทางอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสังคม ครอบครัว ฯลฯ โดย การสร้างให้เกิดการสนทนาหรือเกิดเป็น Community ย่อยใน Youtube ด้วยและเมื่อมีการสร้างการสนทนา จากกลุ่มคนดูก็จะเกิดเป็นฐานหลักของคนดูเพื่อสร้างรายได้จากการลงโฆษณาจาก Youtube และนำไปสู่การ พัฒนาไปสู่การขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมเฉพาะกลุ่มต่อไป
หลังจากที่ต่อลาภได้พัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการ Content บน Youtube เพื่อสร้างยอดการติดตามในการช่วยขับเคลื่อนสังคมและสร้างรายได้ช่องทางใหม่ ให้กับบริษัท toolmorrow ต่อลาภจึงสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาสำหรับองค์กร หรือบุคคลที่อยากบริหารจัดการ Content บน Youtube ช่องตัวเอง ฯลฯ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ด้วยกันคือ
กลยุทธ์ที่ 1 เพื่อการบริหารจัดการ Content บน Youtube ของบริษัท toolmorrow เริ่มจากการสร้างช่อง YouTube channel แบบเป็นทางการเพื่อรองรับผู้ติดตามรายใหม่ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับช่องอีกด้วย ตามมาด้วยการจัดรูปแบบ Content Video โดยการตัดเวลาลงให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายจะดู รวมไปถึงการทำภาพปกวิดีโอให้ดูดึงดูดน่าสนใจ
อีกส่วนคือการวิเคราะห์และวางแผนการลงวิดีโอต้องให้สอดคล้องการข้อมูลกลุ่มคนดูที่ได้มาว่าคนดูเป็นใคร ชอบ content ประมาณไหน ชอบดูวิดีโอทาง Youtube ตอนไหน ซึ่งจากการที่เก็บข้อมูลทำให้ต่อลาภทราบว่ากลุ่มคน ดูหลัก จะช่วงวัยรุ่นเป็นหลักอยู่ที่ 39.7% ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนดูวัยทำงานถึง 8% ทำให้การทำ content และการ จัดการข้อมูลทั้งหมดใน Youtube channel toolmorrow จะเน้นส่งเสริมไปที่กลุ่มคนดูช่วงวัยรุ่นอายุ 18 – 24 ปีเป็นหลัก
โดยเฉพาะช่องเวลาในการลงวิดีโอเองก็ปรับให้สอดคล้องกับตารางชีวิตของกลุ่มคนดูด้วยเช่นกัน โดยอ้างอิงจากข้อมูลการเข้าชมวิดีโอใน Youtube channel toolmorrow ที่จะขึ้นเยอะตามลำดับความเหมาะสมได้แก่ช่วง 20.00 – 21.00 น. แล้วจึงนำ Content ที่ได้รับมอบหมายมาอัพโหลดลงในช่องตามช่วงเวลาที่สอดคล้องและเหมาะสมตาม Content นั้นๆ
การสร้างหน้าแรกและจัดหน่วยหมู่ของช่อง (เพื่อลองรับผู้เข้าชมรายใหม่)
หน้า Youtube channel เป็นหน้าแรกที่คนติดตามทั้งรายใหม่และรายเก่าจะเห็นเป็นสิ่งแรกเมื่อเข้ามาในช่อง ซึ่ง ณ ตอนแรก toolmorrow ไม่มีหน้าแรกเลย ต่อลาภจึงสร้างหน้าแรกและจัดหน่วยหมู่ใหม่ตั้งแต่ต้น โดยการเพิ่มวิดีโอที่ผู้คนให้ความสนใจและมียอดวิวสูงไว้บนสุดของ channel เพื่อดึงดูกลุ่มคนดูใหม่ ให้กดติดตตาม ถัดต่อลาภก็ได้สร้างเพลย์ลิสต์เพิ่มเติมได้แก่ เพลย์ลิสต์รายการอัปโหลดยอดนิยม , เพลย์ลิสต์รายการรอลูกเลิกเรียน , เพลย์ลิสต์รายการ Toolmorrow Ep 1 – 12 , เพลย์ลิสต์ 10 เทคนิคการสื่อสาร . เพลย์ลิสต์คลิปวิดีโอทดสอบสังคม ตามลำดับ
การสร้างเพลย์ลิสต์วิดิโอต่าง ๆ ในช่องเพื่อเพิ่มยอดคนดู
การสร้างเพลย์ลิสต์ให้กับวิดีโอในช่อง Youtube channel จะช่วยให้ง่ายต่อการรวบรวมวิดีโอ รวมถึง ทำให้ง่ายต่อการดูของผู้ติดตามส่งผลให้เกิดการดูแบบติดตามวิดีโออื่น ๆ ในเพลย์ลิลต์ด้วยนั้นเอง ตัวอย่างการจัดหมวดหมู่เพลย์ลิสต์ เช่น คุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน , ทดสอบสังคม , คลิปยอมนิยม , คุยกับลูกเรื่องเพศ ซึ่งผลที่ตามต่อมาหลังจากการจัดเพลย์ลิสต์แล้วก็คือ การสร้างการติดตามคลิปวิดีโอที่อยู่ในหมวดหมู่หรือเพลย์ลิสต์เดียวกันต่อๆ ไป นำไปสู่การเพิ่มยอดผู้ติดตตาม วัดผลได้จากจำนวนการดูวิดีโอที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นก่อนการจัดทำเพลย์ลิสต์
การสร้างหน้า channel ใหม่ ต่อลาภได้วิเคราะห์จากยอดการดูและความสนใจจากผู้ดูวิดีโอในช่องตามลำดับ ทำให้ต่อลาภเลือกใส่เพลย์ลิตส์ที่มีผู้สนใจในวิดีโอนั้น ๆ ไว้บนสุดของ channel เพราะเมื่อผู้คนเข้ามา ในช่องจะทำให้พวกเขาเห็นเพลย์ลิสต์นั้น ๆ เป็นอันดับแรกนั้นเอง และจะนำไปสู่การติดตามดูวิดีโอในกระบวนการต่อ ๆ ไป ซึ่งหลังจากการสร้างเพลย์ลิสต์แล้ว ทำให้วิดีโอแต่ละตัวที่อยู่ในเพลย์ลิสต์อยู่ต่อกัน เมื่อมีคนกดูคลิปใดคลิปหนึ่งในนั้น คลิปวิดีโออื่น ๆ ในเพลย์ลิสต์นั้นก็จะไปขึ้นเป็นวิดีโอแนะนำของผู้ชม และเมื่อมีการกดคลิ๊กเข้าชมบ่อย ๆ ระบบของ Youtube ก็จะนำวิดีโอนั้น ๆ ไปเป็นวิดีโอแนะนำในหมวดวิดีโอที่ใกล้เคียงกันด้วย ทำให้ยอดการเข้าถึงหลังจากสร้างเพลย์ลิสต์เพิ่มขึ้นนั้นเอง
การตั้งค่า Youtube การ์ดแนะนำวิดีโอคลิปอื่น ๆ ในระหว่างการรับชมและท้ายวิดีโอ
การตั้งค่า Youtube การ์ดให้แนะนำวิดีโอต่าง ๆ ที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับวิดีโออื่น ๆ ลงในวิดีโอของช่องเรา การ์ดแนะนำจะแสดงขึ้นมานำเสนอต่อคนดูที่กำลังรับชมวิดีโออยู่ ทำให้เกิดการติดตามวิดีโออื่น ๆ ที่เราตั้งให้แนะนำ และนำมาซึ่งการดูแบบติดตามต่อในระยะยาว ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจำนวนของวิวและเวลา ในการรับชมวิดีโอในช่อง Youtube channel toolmorrow เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งตัววิดีโอที่อัปโหลดใหม่ และรวมไปถึงตัววิดีโอการ์ดแนะนำที่ถึงจะเป็นวิดีโอเก่าก็ตาม แต่ก็ยังมียอดการกดเข้ามาดูเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โดยการตั้งการ์ดแนะนำ แตกต่างกันตรงที่การ์ดแนะนำจะเสนอขึ้นในระหว่างวิดีโอกำลังเล่น แต่วิดิ โอแนะนำจะแสดงขึ้นก่อนวิดิโอจะจบ 20 วินาที ซึ่งจะแสดงแถบหลัก ๆ 2 แบบที่นิยมใช้คือ ฟีเจอร์การกด ติดตามช่อง กับ วิดีโอแนะนำต่อไป ซึ่งจุดประสงค์เพื่อนำเสนอต่อคนดูที่กำลังรับชมวิดีโออยู่ ทำให้กดการ ติดตามและดูวิดีโออื่น ๆ ที่เราตั้งให้แนะนำและนำมาซึ่งการดูแบบติดตามต่อในระยะยาวนั้นเอง
กลยุทธ์ที่ 2 เพื่อสร้างยอดการติดตามบน Youtube ของบริษัท toolmorrow
การเพิ่มยอดการติดตามต่อลาภบอกว่าควรเริ่มจากการทำ SEO ในวิดีโอเพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวของกับเนื้อหา content เพื่อให้ง่ายแก่การค้นหาเจอและสะดวกต่อการเพิ่มยอดดูแบบเป็นขั้นตอน ต่อมาด้วยวิธีการสร้าง Community โดยการโพสต์ภาพลงระบบชุมชน Youtube ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานออกมาแสดง ความคิดเห็นของตนผ่าน Content ที่มีประสบการณ์ร่วมนั้นเอง
การทำ SEO คือการใส่ “คีย์เวิร์ด” หรือใจความสำคัญที่ต้องการจะสื่อลงใน content วิดีโอ Youtube นั้น ๆ ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายแก่การค้นหาในระบบ Search engine เช่น ชื่อวิดีโอ , คำอธิบายใต้วิดีโอ หรือรวมไปถึงใส่ในระบบการจัดการวิดีโอใน Youtube studio ยกตัวอย่างเช่น วิดีโอ “คุย กับลูกเรื่องเพศ” คีย์เวิร์ดสำคัญที่ต้องใส่ในระบบของ Youtube เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหานั้นก็คือ เรื่องเพศ, คุยกับลูกเรื่องเพศ , sex education เป็นต้น โดยอ้างอิงจากผลยอดการค้นหาส่วนใหญ่ของ Google Trend
ซึ่งจากผลของการทำ SEO ทำให้การกดค้นหาคำหรือคีย์เวิร์ดยอดนิยมนั้น ๆ ส่งผลให้ Content ของเราติดอันดับแรกๆ ของการค้นหาและช่วยเพิ่มในส่วนการยอดการดูมากขึ้นโดยมีหลักการง่าย ๆ 5 ประการที่ต่อลาภได้นำมาปรับใช้ใน Youtube channel toolmorrow มีดังนี้
1.เริ่มต้นชื่อวีดีโอด้วย “คีย์เวิร์ด” ที่ต้องการจะสื่อ ตัวอย่างเช่นตั้งชื่อวิดีโอว่า “คุยกับลูกเรื่องเพศ” ซึ่งคีย์เวิร์ดหรือสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ก็คือการได้พูดคุยกันระหว่างผู้ปกครองและลูก แน่นอนว่าการที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตค้นหา จะต้องมีคีย์เวิร์ดไม่พ้นคำว่า “คุยกับลูก” หรือ “เพศศึกษา” แน่นอน การที่เราใส่คำที่ต้องการจะสื่อนั้น ๆ ลงในคำนำหน้าชื่อวิดีโอเลย จะช่วยให้การทำงานของ SEO บนระบบค้นหา Search Engine ค้นหาพบ Content ของเราได้เป็นอันดับต้น ๆ
2.ใส่รายระเอียดใต้วีดีโอ Youtube คำอธิบายใต้คลิปควรที่จะมีคำอธิบายอย่างน้อย 10 -15 บรรทัด และต้องมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการจะสื่อแฝงไว้ 15 -20% ของคำอธิบายนั้น ๆ ด้วย เนื่องจากว่าระบบการค้นหา Search Engine จะจำคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ถูกค้นหามากที่สุดมาแสดง ซึ่งเน่นนอนว่าการใส่คำที่เป็นคีย์เวิร์ด เกี่ยวของกับเนื้อหาวิดีโอเอาไว้ก็จะช่วยให้ระบบจับวิดีโอไปแสดงบนการค้นหาเป็นอันดับต้น ๆ เช่นกัน
3.ใส่คีย์เวิร์ดลงในแท็กของ Youtube ควรที่จะใส่ 3 – 5 คีย์เวิร์ดหรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ แต่ข้อสำคัญคือคีย์เวิร์ดที่ใส่จะต้องเป็นคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องอยู่ในหมวดเดียวกัน เพราะการใส่คีย์เวิร์ดเยอะ ๆ และเป็นคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกันจะทำให้ระบบ Youtube สับสนและทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
4.ใช้ภาพหน้าปกที่โดดเด่น การใช้ภาพปกคลิปวิดีโอที่น่าสนใจดูโดดเด่นน่ากดเข้ามาดูก็เป็นตัวช่วย ในการดึงดูคนให้คลิ๊กเข้ามาชมคลิปและทำให้ระบบของ Youtube จับวีดีโอนั้น ๆ ที่มียอดการคลิกชมเยอะไปอยู่ในช่องวิดีโอแนะนำ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเห็นคลิปวิดิโอของเราและเกิดปฏิสัมพันธ์ในด้านต่างๆ กับ ตัว Content วิดีโอนั้น ๆ
การโปรโมทผ่านระบบชุมชน ระบบชุมชมคือ ฟีเจอร์ใหม่ของ Youtube ที่ทำให้ผู้ใช้งานที่มี Youtube channel สามารถโพสต์ข้อความ หรือ รูปภาพ ในชุมชนของตนเองเพื่อบอกเรื่องราวให้กับผู้ติดตามได้ อีกทั้งผู้ติดตามยังสามารถ comment ตอบกลับและแสดงความคิดเห็นของตนเองให้โพสต์ชุมชนนั้น ๆ ได้ด้วย ช่วยให้ Youtube channel สามารถโปรโมทแคมเปญของตนและเก็บข้อมูลนำกลับมาทำแผนงานได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
การโปรโมทผ่านระบบชุมชนโปรโมทวิดีโอ การโปรโมทผ่านทางระบบชุมชนของ Youtunb channel ช่วยส่งเสริมในทางบวกหลาย ๆ เรื่อง แล้วแต่จุดประสงค์นั้น ๆ ในที่นี้ต่อลาภได้นำระบบชุมชนมาช่วยในการโปรโมทวิดีโอที่จะอัพโหลดในวันนั้นตามช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วจึงใช้ banner ที่ทำเกี่ยวข้องกับวิดีโอนั้นเป็น content ใหม่เชิงให้คนที่ติดตาม หรือเหตุ banner ออกมาแสดงความคิดเห็นของตน
จากประโยชน์ของ banner ที่เน้นเป็นการตั้งคำถาม หรือ เน้นให้แสดงความคิดเห็นนั้นเอง ซึ่งสิ่งที่จะได้กลับมาคือ 1. เกิด community ใหม่ใน Youtube channel 2. เกิดการอยากติดตามคลิปวิดีโอและ content อื่นๆ ต่อจากช่องของเราและ 3. เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การได้แลกเปลี่ยนความคิดและนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคม
กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้กับบริษัท
การเปิดสร้างรายได้นอกจากเนื้อหาภายในวิดีโอที่จะต้องไม่มีเนื้อหาตามที่ระบุข้างต้นแล้ว หน้าปก วิดีโอและชื่อของคลิปวิดีโอเองก็มีส่วนเช่นกัน เช่น ถึงแม้ว่าภายในคลิปวิดีโอจะไม่มีเนื้อที่ล่อแหลม ไม่มีเนื้อหา ที่รุนแรง วิดีโอไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเด็ก และไม่มีเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการเมืองและศาสนาก็ตาม แต่กลับตั้งชื่อคลิปในดูน่าสนใจโดยใช้การดึงดูดโดยใช้หลักตามข้อข้างต้นเช่น นำเรื่องเพศมาตั้งเป็นปกคลิปและ ชื่อคลิปวิดีโอให้ดูน่าสนใจ ระบบของ Youtube ก็จะตรวจสอบและโดยแจ้งว่าไม่เหมาะสมต่อการลงโฆษณา จากสปอนเซอร์เช่นกัน
ดังนั้นวิธีการแก้ไขหากคลิปโดยระบบของ Youtube แจ้งแบบนี้ ต่อลาภจะใช้วิธีการเปลี่ยนชื่อคลิป วิดีโอและปกคลิปวิดีโอ โดยที่ยังให้ดูน่าสนใจเหมือนเดิม แต่ไม่ขัดกับหลักกฏเกกณฑ์ของ Youtube Studio เพียงเท่านี้คลิปวิดีโอของเราก็จะสามารถเปิดสร้างรายได้ ได้โดยที่มีความเสียงน้อยที่สุดที่จะไม่โดยระบบของ Youtube ระงับนั้นเอง
ในส่วนของการเปิดรับรายได้จาก Google Adsense จากการยื่นเรื่องของรหัสยืนยันกับ Google ทางบริษัทได้ทำการส่งรหัสกลับมาเพื่อยื่นยันโดยได้ทำการเชื่องโยงบัญชี Googke Adsense เข้ากับบัญชีรับเงินของบริษัท toolmorrow เรียบร้อย โดยเงินที่ได้จาก Youtube เหล่านี้จะเข้ามายัง Google Adsense และโอนเข้ามาให้บัญชีบริษัททุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ หากมียอดเงินในบัญชี Google Adsense ครบหรือเกิน 100 เหรียญขึ้นไป ซึ่งยอดเงินใน Google Adsense จะอัพเดททุกวันที่ 12 ของทุกเดือน และยอดเงินจาก Google Adsense จะโอนเข้าบัญชีทุกวันที่ 21 – 25 ของทุกเดือน ซึ่งเท่านี้ก็ช่วยสร้างพื้นฐานให้กับบริษัทในการสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้กับบริษัท toolmorrow แบบยั่งยืนเรียบร้อย
กลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น
การสร้าง Youtube ให้สามารถส่งเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำได้โดยการสร้าง Content ที่กระตุ้นให้คนดูแสดงความคิดเห็นและอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้เหตุการณ์นั้น ๆ ทั้งนี้รวมทั้ง Content วิดีโอจากใน Youtube channel และ banner กิจกรรมด้วย เพราะทั้งหมดนี้ มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง
การสร้าง Youtube channel ยังสามารถช่วยส่งเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยทำงานร่วมกับ แพลตฟอร์มอื่น ๆ ของบริษัทด้วย เช่นส่งเสริมให้เกิดการนำความรู้และแง่คิดใหม่ ๆ ที่ได้จากการรับชมวิดีโอของ toolmorrow ไปปรับใช้ในชีวิตเพื่อให้เกิดผละประโยชน์และสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยทั้งนี้การ ทำงานก็ผ่านจากการติดตามวิดีโอใน Youtube channel นอกจากนี้การเชื่องโยง Youtube เข้ากับ แพลตฟอร์มอื่น ๆ แบบ Transmedia ก็ช่วยสร้างการติดตามต่อ ๆ ไปในด้านดีต่อผู้ติดตามอีกด้วย
ตัว Youtube เองก็จะมีผลช่วยส่งเสริมการทำงานโดยการลิงค์ไปยังแพลตฟอร์มอื่น เช่น Facebook และ Website ที่จะเป็นทั้งบทความหรือ Content แสดงความคิดเห็นทั่วไปก็ล้วนแต่มีจุดประสงค์เดียว เพื่อสร้างให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดและก่อให้เกิดการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างการ เปลี่ยนแปลงในสังคมจากเรื่องที่ผู้คนมีประสบการณ์ร่วมกันและต้องการที่จะขับเคลื่อนสังคม เช่นในระบบ Youtube ที่ใช้ Content วิดีโอ และ banner ในระบบชุมชนเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมและสร้างการ เปลี่ยนแปลงนั้นเอง
จากการบริหารจัดการ Youtube channel ของบริษัท toolmorrow เป็นระยะเวลา 1 เดือน ต่อลาภได้ทำการการจัดการเนื้อหาทั้งหมดในช่องโดยการจัดเพลย์ลิสต์เป็นหมวดหมู่ให้ง่ายแก่การค้นหาวิดีโอ และยังเป็นการสร้างยอดการเข้าถึงวิดีโอในเพลย์ลิสต์นั้น ๆ แบบต่อเนื่อง การเลือกเนื้อหามาลงโดยการนำวิดีโอเก่า ๆ ที่ลงแต่ใน Facebook เพจของ toolmorrow มาลงใน Youtube ซึ่งตัววิดีโอก็สร้างความสนใจอย่ลางมากด้วย ตัววิดีโอ Content เอง
ซึ่งต่อยอดมายังการใช้เนื้อหาเพื่อสร้าง Community ด้วยวิธีการนำเนื้อหาในวิดีโอ นั้น ๆ มาแตกเป็น Content เชิงปฏิสัมพันธ์ให้เกิดการพูดคุยสนทนาการผ่านทางชุมชน Youtube ต่อยอดนำมาซึ่งการใช้ Youtube ที่มีประโยชน์ต่องานขับเคลื่อนสังคมจากกลุ่มเล็ก ๆ รวมไปถึงเป็นกระตุ้นการเรียนรู้ของสังคมผ่านการเล่าเรื่องราวจากทั้งวิดีโอ Content และ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดจากในชุมชน Youtube นั่นเอง
ต่อลาภมองว่านวัตกรรมของตนสามารถนำความรู้ที่ได้เหล่านี้ นำไปต่อยอดและพัฒนางานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้ เนื่องจากการทำการตลาดผ่านทางออนไลน์ในยุคต่อไปจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และ Youtube เองก็จะเป็นแพลตฟอร์มที่เข้ามามีบทบาทช่วยในการอยู่รอดของสื่อต่าง ๆ และเป็นตัวช่วยที่เข้ามาสนับสนุนองค์กรหลัก ๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน