เด็กนิเทศรู้ดีว่าผู้รับสารและสื่อเองในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เมื่อก่อนหากรายการทีวีออนแอร์จบลง จะไม่มีการนำเนื้อหามาข้ามสื่อสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้คนดูที่พลาดการรับชมไม่สามารถไปเสพเนื้อหาจากที่อื่นได้ หากสื่อมีการปรับตัวนำเนื้อหาจากทีวีมาเผยแพร่ผ่านออนไลน์ด้วย และมีการทำให้สามารถรับชมเนื้อหาย้อนหลังได้ จะทำให้สื่อสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้มากขึ้น และสามารถสร้างมูลค่าเม็ดเงินอันมหาศาลให้กับองค์กรสื่อได้
จากปัญหาข้างต้นเด็กนิเทศ PIM ที่ชื่อว่านางสาวปริยากร ยี่สุ่นศร (รหัส59) สาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้นำปัญหานี้มาสร้างนวัตกรรมเชิงเนื้อหา “นวัตกรรม Content ข้ามสื่อจาก TV สู่ Facebook สำหรับรายการ “คนชนข่าว”” ขึ้นมา เพื่อพัฒนาเนื้อหาข้ามสื่อของรายการทีวีในการสร้างพื้นที่บนสื่อออนไลน์และเจาะกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม ผ่านรายการคนชนข่าวสำนักข่าว TNN
เปิดเบื้องหลังการสร้างนวัตกรรม Content ข้ามสื่อจาก TV สู่ Facebook
รายการคนชนข่าวเป็นรายการทอคล์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเพื่อในกระแสสังคมตอนนั้นแบบเจาะลึก มีการวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจประเด็นนั้นให้กับผู้รับชม โดยทางรายการออกอากาศช่อง TNN16 และออกอากาศออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กของช่อง ซึ่งเมื่อหลังจากรายการจบทางรายการไม่มีการต่อยอด content ทำให้รายการไม่มีการติดตามจากผู้รับชม
รวมถึงการดูย้อนหลังเป็นเรื่องยาก เพราะในเพจไม่ได้มีแค่รายการเดียวที่ลง content แต่มีรายการอื่นด้วย จึงทำให้คลิปที่จะชมย้อนหลังเป็นเรื่องยากที่จะหาชม เพราะคนที่เล่นเฟซบุ๊กจะรับชม VDO จากทางเพจเป็นส่วน ใหญ่สูงถึง 7% และสื่อที่เป็นรูปภาพอยู่ที่ 6.05% ทำให้รายการต้องมีการปรับตัวตามผู้รับสารที่เปลี่ยนไป ที่จะสามารถมาชมย้อนหลัง และมีการโปรโมทรายการของตนเองได้ รวมถึงเพื่อสร้างผู้ติดตามรายการเพิ่มขึ้นและดึง ผู้รับสารให้ยังคงติดตามรายการต่อไป ปริยากรจึงทำการทดลองโดยใช้กระบวนการ Cross-media เล่าเรื่องเดียวกันต่างแพลตฟอร์มเข้ามาใช้ เพื่อที่จะสร้างพื้นที่สื่อออนไลน์คือ เฟซบุ๊ก (Facebook) ให้กับรายการคนชนข่าว ผ่าน 4 หัวข้อได้แก่
การพัฒนาเนื้อหาข้ามสื่อ Promotional Content ตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดมีส่วนร่วมกับเพจรายการ
ปริยากรเล่าว่าเริ่มแรกตนได้ออกแบบการเล่าเรื่องบนแฟนเพจของรายการคนชนข่าว เพื่อสร้างชุมชนและผู้ติดตามให้รายการ ซึ่งปริยากรได้ทดลองการสร้างนวัตกรรมเชิงเนื้อหาในรูปแบบแรกคือ Promotional Content หลายคนคงงงว่า Promotional Content นั้นหมายความว่าอะไร ปริยากรได้อธิบายให้เข้าใจไว้ว่า เป็นการผลิตคอนเทนต์ใหม่ เพื่อจะช่วยให้คนเข้าถึงรายการมากยิ่งขึ้น โดยปริยากรได้เริ่มจากการสร้าง G-mail ใหม่ของรายการ เพื่อที่จะสร้างเฟซบุ๊กขึ้นมาให้เป็นของรายการโดยเฉพาะ
โดยวางแผนไว้ว่าเมื่อหลังจากจบการทดลองครั้งนี้ ทางรายการจะสามารถนำไปพัฒนาต่อ ซึ่งปริยากรได้ทำการทดลองนวัตกรรมในส่วนนี้คือ โปรโมทก่อนเข้ารายการ การทำโปรโมทเข้ารายการก่อนเวลาออกอากาศ เป็นการโปรโมท ให้กลุ่มคนที่สนใจในตัวโปรโมทรายการจะมีการทำลงทุกวันตามที่รายการออกอากาศคือ วันจันทร์ – วันศุกร์ โดยช่วงเวลาในการโพสลงโปรโมทก่อเข้ารายการคือ 18.00 – 20.00 น. โดยยอดการมีส่วนร่วมกับชิ้นงานกลับไม่มี ความคงที่ซึ่งการโปรโมทรายการเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับเพจรายการมากขึ้นจริง
การพัฒนาเนื้อหาข้ามสื่อ Cross Platform ส่วนช่วยสร้างยอดและดึงคนดูขณะรายการกำลังโฆษณา
Cross Platform ในงานส่วนนี้เป็นส่วนที่ปริยากรไม่คิดว่าจะได้ทำคือ Live สดรายการ เพราะทางช่องโทรทัศน์ อาจจะไม่ยอม แต่เมื่อลองมาคุยกับทางหัวหน้าและพี่ที่สตูดิโอ ทางพี่สตูดิโอได้ตั้งค่าการไลฟ์สดเป็นแบบไม่ติดโลโก้ช่องให้ ทำให้ทางเพจมีการไลฟ์สดเป็นของตัวเองแยกกับช่องและเพจใหญ่อีกที ซึ่งก่อนที่จะมีการไลฟ์ทางเพจจะมี การโปรโมทรายการก่อน เพื่อที่ตอนไลฟ์สดจะมีคนเข้ามารับชม จากยอดผู้รับชมที่เข้ามามีส่วนร่วมเริ่มการมีพัฒนา มากขึ้นจากตอนแรกที่ไม่มีผู้รับชมเลย โดยเป็นผลจากประเด็นในแต่ละวันของรายการและแขกรับเชิญที่เข้าร่วม
ยอดคนดูเหล่านี้เป็นการสะท้อนว่าคนที่เล่นเฟซบุ๊กเริ่มรับรู้ว่ารายการคนชนข่าวมีเพจเฟซบุ๊ก โควทคำตอน ระหว่างรายการออกอากาศ คำโควทประโยคเด็ดในรายการเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนสนใจอยากกดเข้ามาดู รายการมากขึ้น ซึ่งอยู่ในส่วนของกระบวนการ Cross Platform เป็นการสร้างยอดคนเข้ามาดูในเพจกดไลก์ กด แชร์ และทำให้คนติดตามเพจของรายการมากขึ้น และจากการผลิต content นี้เป็นการต่อยอดจากช่วงที่รายการ กำลังออกอากาศ จะช่วยดึงให้คนดูยังอยู่กับรายการช่วงที่รายการกำลังโฆษณา ซึ่งสอดคล้องกับการที่เริ่มมีการ สื่อสารตอบคอมเม้นท์จากผู้รับสาร และคำโควทนี้ได้ตีกลุ่มเป้าหมายบนเฟซบุ๊กประเภทกลุ่มที่ชอบโพสและแชร์อีก ด้วย
Repurposed Content การตอกย้ำประเด็น ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ดีที่สุด
ปริยากรกล่าวว่า Repurposed Content เป็น content ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอกย้ำในประเด็นของรายการโดยปริยากรได้ตัด Highlight ออกมาจากช่วงของรายการ ซึ่งเป็นอีก Content ที่จะดึงดูกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เข้ามารับชม ได้มากที่สุด เพราะจากสถิติที่ผู้ศึกษาได้ค้นคว้ามานั้นบอกว่าการรับชมคลิป VDO ในเฟซบุ๊กเป็นที่นิยมมากสูงถึง 7% โดยเป็นนวัตกรรม Content ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด จากผลการทดลองจะเห็นว่ายอดการเข้าถึงสูง ก็ต่อเมื่อเป็นประเด็นข่าวการเมืองที่อยู่ในกระแสข่าวที่มาแรง รองลงมาเป็นข่าวตามกระทั่วไป และเป็นข่าวอาชญากรรม โดยเฉพาะประเด็นข่าวการเมืองเป็นประเด็นร้อนมาเร็วไปเร็ว เพราะฉะนั้นเมื่อเราตามกระแสได้ทัน ยอดคนเข้าถึงก็จะสูงตาม
และมีการต่อยอดประเด็นเป็น Infographic ผลงานของอินโฟกราฟิกเป็นผลงานที่ต่อยอด Content มาจากประเด็นข่าวที่จะใช้ในรายการ และที่จะนำไปแชร์เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในเพจ โดยประเด็นแต่ละเรื่องที่นำมา พัฒนาหรือขยายจะนำมาจากกระแสข่าวตอนนั้น ซึ่งการผลิตจะผลิตออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่าง อัลบั้มภาพแบบ 4 ภาพ หนือแบบ 6 ภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะเข้ามาทำให้เพจไม่จำเจในการเสนอข้อมูล
Engaging Content การสร้างคอนเทนต์ให้ผู้รับสารมีส่วนร่วม
ปริยากรอธิบายว่า Engaging Content เป็นกระบวนการที่สร้าง content ให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมกับรายการ ซึ่งการแชร์ ข่าวจากเว็บอื่น เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เพจมีความเคลื่อนไหวในวันหยุดเสาร์อาทิตย์รวมถึงวันธรรมดา มาเติมส่วนทดแทนให้มีสีสัน content อีกทาง ผลจากการแชร์ข่าวที่มีความหลากหลายทำให้ผู้รับสารเริ่มมีส่วนร่วมกับเพจรายการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์กับโพสโดยการกดไลก์ที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกกับข่าวนั้น กลับมาอีกด้วย
จากการทดลองทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ปริยากรชี้ผลตอบรับของนวัตกรรมสื่อที่ผลิตได้เข้ามาตอบโจทย์สร้างพื้นที่ บนสื่อออนไลน์ไว้ว่า แต่ละชิ้นงานได้สะท้อนให้เห็นว่าคนในเพจมีความสนใจเรื่องข่าวประเภทที่เป็นการเมืองมา เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาจะเป็นข่าวที่เป็นกระแสและเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจกับสังคม และข่าวที่เป็นประเภท อาชญากรรม โดยผลจากการมีส่วนร่วมเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่ให้รายการคิดประเด็นทอคล์ได้ในวันต่อไปว่าควรที่จะ เล่นประเด็นการเมือง เพื่อตอบสนองและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับรายการได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการในการสร้างการมีส่วนร่วมและผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้น
จากการทดลองนวัตกรรมสื่อที่ปริยากรได้คิดขึ้น สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการพัฒนาตลอดเวลาทั้งในเรื่องการผลิต content และการเลือกหาแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับเนื้อหานั้น ๆ ซึ่งการเล่าเรื่องข้ามสื่อตามแนวคิด Cross-media เป็นรูปแบบที่จะเข้ามาช่วยให้ content มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และในการพัฒนางานที่ สอดคล้องกับสาขาวิชาคือการนำรูปแบบเหล่านี้มาสื่อสารปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ต่อให้รูปแบบการสื่อสารดีแค่ไหนถ้าไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายผลที่ออกมาก็คือ สารฉบับนั้นจะไม่มีประโยชน์และไม่น่าสนใจสำหรับผู้รับสารเลย