ปัจจุบันเด็กนิเทศรู้ดีว่าความก้าวหน้าของสื่อออนไลน์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าของสื่อออนไลน์นั้นทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เครือข่ายทางสังคม” ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในลักษณะความสัมพันธ์ต่าง ๆ อาจจะออกมาในลักษณะของเพื่อน คนรู้จักหรือชุมชนก็ได้ และสามารถออกมาในรูปแบบที่ไม่ใช่นักวิชาการคุยกัน (Common Location)
แต่เกิดจากการมีความสนใจร่วม (Common Interest) โดยมีสมาชิกที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านอายุ สุขภาพ หรืออาจกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นชุมชนแห่งใหม่ที่สมาชิกสามารถทำการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงออกหรือดำเนินกิจกรรมได้หลายรูปแบบ นายณัฐพงศ์ ศรีสินสมุทร (รหัส59) สาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาโครงงาน “การพัฒนาเนื้อหาบน Facebook ของโครงการ Runfornewlife Story เพื่อสร้าง Online Community” ขึ้นมา
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเนื้อหาบน Facebook ของโครงการ Runfornewlife Story
โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ ถูกผลิตขึ้นมาภายใต้แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สสส. มีจุดเด่นของรายการคือ เป็นรายการสารคดีกึ่งเรียลิตี้ ที่คัดเลือกบุคคลต้นแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้สร้างนักวิ่งหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม ณัฐพงศ์กลับพบว่าคอนเทน์ที่ถูกผลิตขึ้นมา มีความเป็นทางการและมีแต่เนื้อหาที่แนะนำโค้ช ไม่มีคอนเทนต์สาระความรู้ เลยส่งผลทำให้ไม่มีผู้ติดตาม และไม่มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในเพจเลย
ซึ่งณัฐพงศ์ได้กล่าวว่าจุดเริ่มต้นคือจะเริ่มจากการทำความเข้าใจเป้าหมายของโครงการ นั่นคือการสร้างพื้นที่พูดคุยเกี่ยวกับการวิ่งสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่บนแฟนเพจ Runfornewlife Story และการสร้างนักวิ่งหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมจึงเริ่มต้นการพัฒนาโครงงานปริญญานิพนธ์โดยการหากลุ่มหรือเพจเฟสบุ๊กที่เกี่ยวกับการวิ่ง และแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มมากกว่า 10 กลุ่ม
โดยผลจากการที่ผู้ศึกษาเข้าไปวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเพจพบว่า การทำคอนเทนต์ของแต่ละเพจนั้นส่วนใหญ่มีแต่เนื้อหาที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นนักวิ่งอยู่แล้ว และมีพื้นฐานเกี่ยวกับการวิ่งพอสมควร ไม่มีผู้ที่ผลิตเนื้อหาสำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นวิ่งหรือนักวิ่งหน้าใหม่เลย ดั้งนั้นเลยทำให้ณัฐพงศ์ได้นำชองว่างตรงนี้มาตั้งเป็นเป้าหมายหลักในการทำคอนเทนต์ คือการสร้างเนื้อหาที่เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ก็สอดครองกับเป้าหมายของโครงการ นั่นคือการสร้างนักวิ่งหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย
ในระยะแรกณัฐพงศ์บอกว่าตนได้นำคอนเทนต์เก่าของเพจ ไปแปะลิ้งค์ไว้ตามกลุ่มที่เกี่ยวกับเรื่องของการวิ่งที่ได้แฝงตัวเข้าไปมากกว่า 10 กลุ่ม เพื่อเป็นการแสดงตัวว่านี่คือเพจใหม่ที่นำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับการวิ่งที่เหมาะสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ เพื่อค้นหาผู้ติดตามและผู้ที่มีความสนใจจริง ๆ เข้ามาสร้างการรับรู้และการปฎิสัมพันธ์บนเพจ Runfornewlife Story ซึ่งหลังจากการที่เพจเริ่มมีผู้ติดตามและกดถูกใจเพิ่มขึ้น ซึ่งณัฐพงศ์ได้ทำการผลิตคอนเทนต์โดยการนำผลการวิเคราะห์ผู้รับสารจากการทำ Persona ตามบุคคลต้นแบบทั้ง 8 คนมาเป็นตัวแปรในการทำคอนเทนต์อีกด้วย
การผลิต Content ปฏิสัมพันธ์กับลูกเพจ เพื่อสร้างความใกล้ชิด และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็น
หลังจากการผลิต Content ที่เป็นสาระความรู้เกี่ยวกับการวิ่งสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ณัฐพงศ์มองเห็นว่าการที่เพจนำเสนอสาระเกี่ยวกับการวิ่งเพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์กับการสร้างชุมชนออนไลน์ได้ ณัฐพงศ์จึงผลิต Content ที่สามารถสร้างการปฎิสัมพันธ์กับลูกเพจ เพื่อทำให้ลูกเพจรู้สึกว่าเราไม่ได้มีหน้าที่แค่นำเสนอข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่เพจควรเป็นเพื่อนที่สามารถพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันได้ด้วย
จึงเกิดคอนเทนต์ชวนคุย และกิจกรรม Vote ขึ้น เช่น การร่วมแสดงความคิดเห็นว่าแรงบันดาลใจในการวิ่ง ของคุณคืออะไร? หรือร่วมโหวตรายการสารดีกึ่งเรียลลิตี้ตอนที่คุณชื่นชอบ นอกจากการสร้างปฏิสัมพันธ์แล้ว การสร้างความใกล้ชิดระหว่างโครงการร่วมกับลูกเพจคือสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพื่อการนำไปสู่การร่วมกันทำกิจกรรมออนไลน์ และออฟไลน์ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง
และเกิดนักวิ่งหน้าใหม่ตามเป้าหมายของโครงการได้ ณัฐพงศ์จึงได้คิดกิจกรรม Virtual Run ขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รับสมัครบุคคลที่สนใจการวิ่ง หรือแม้กระทั่งผู้ที่อยากจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการวิ่งภายใต้คอนเซ็ป “จะปล่อยหรือจะเปลี่ยน” โดยเปิดเป็นพื้นที่ในการส่งผลการวิ่งของแต่ละคน ผ่านหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊ก Runfornewlife Story และนอกจากการส่งผลวิ่งแล้ว ยังเป็นพื้นที่พูดคุยของคนที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการวิ่งหรือที่เรียกว่า “นักวิ่งหน้าใหม่” ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แลพพูดคุยกันเกี่ยวกับการวิ่ง
ยังมีโค้ชของโครงการคอยคอนเมนต์ตอบลูกเพจในส่วนของสาระความรู้เพิ่มเติมเฉพาะบุคคลอีกด้วย ซึ่งผลจากกิจกรรม Virtual Run ทำให้เพจ Runfornewlife Story กลายเป็นชุมชนออนไลน์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการวิ่ง และมีนักวิ่งหน้าใหม่เกิดขึ้นในสังคม ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพูดคุยกันบนหน้าแฟนเพจมากกว่า 400 คน
การที่สร้างชุมชนออนไลน์ให้เข้มแข็งไม่ใช่แค่เพียงทำคอนเทนต์และมีการพูดคุยจำนวนมาก แต่อีกปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ชุมชนออนไลน์นั่นเข้มแข็งคือการดูแลของโครงการ ซึ่งณัฐพงศ์ได้คิดกิจกรรม การLive สด ขึ้น เพื่อสร้างการพูดคุย และคิดกิจกรรมตอบคำถามร่วมสนุกลุ่นรับของรางวัลกับทางโครงการขึ้น อีกทั้งยัง คอยตอบคอมเมนต์ของลูกเพจ เพราะการที่จะครองใจคนได้คือการหมั่นดูแลของเพจจากแอดมินอีกด้วย
การถอดองค์ความรู้กระบวนการสร้างชุมชนออนไลน์ จากนวัตกรรมสื่อเด็กนิเทศ PIM
ณัฐพงศ์ได้ทอดลองการผลิตคอนเทนต์โดยแตกประเด็นจากรายการโทรทัศน์และเล่าเรื่องรวมถึง สร้างสรรค์วิธีการนำเสนอรูปแบบที่หลากหลายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งรูปแบบของคลิปวิดิโอ อินโฟกราฟิก โฟโต้อัลบั้ม และการโปรโมทผ่านกระบวนการ Transmedia เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม ในเบื้องต้น จากผลการผลิตคอนเทนต์ตลอดระยะเวลา 6 เดือน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 2 ระดับคือระดับที่ 1 สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์บนสื่อโซเชียลมีเดียระหว่างผู้ผลิตและผู้รับสารก่อให้เกิดการนำไปสู่การพูดคุยบนหน้าแฟนเพจ
ระดับที่ 2 คือเมื่อสร้างปฏิสัมพันธ์แล้วจึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด ทัศนคติ ประสบการณ์ หรือการนำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวัน เป็นเสมือนพื้นที่ที่คอยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิ่ง โดยณัฐพงศ์ได้สกัดองค์ความรู้จากการทดลองผลิตคอนเทนต์เป็นระยะเวลา 6 เดือน ออกเป็นโมเดล สำหรับการสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งมีหลักแนวคิดในการสร้างพื้นที่เพื่อให้เกิดการปฎิสัมพันธ์และการพูดคุย ไว้ 6 ลำดับขั้น ได้แก่
1.Taget ทำความเข้าใจเป้าหมายของโคงการอย่างแท้จริง 2.Find the real fan การหาผู้ที่มีความสนใจร่วม 3. Content ผลิตคอนเทนต์ผ่านการนำ Audience Insight มาเป็นตัวแปรในการสร้างคอนเทนต์ 4. Engaging การสร้างการปฎิสัมพันธ์เพื่อรักษาแฟนเพจ 5. Connection เชื่อมความสัมพันธ์ด้วยการสร้างกิจกรรมเพื่อทำร่วมกัน และ 6.Take Care พูดคุยและดูแลแฟนที่แท้จริง
ชุมชนออนไลน์ไม่ใช่เพียงแค่การรวมกลุ่มคนที่พูดคุยกันแค่เรื่องที่มีความสนใจเหมือนกัน เพราะบางครั้งมันก็อาจจะนำไปสู่การที่ขับเคลื่อนให้คนออกมาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกัน หรือเป็นการช่วยเหลือทางสังคมได้อีกด้วย เช่น แฟนเพจเฟซบุ๊ก หมอแลบแพนด้า ที่คอยนำปัญหาจากลูกเพจขึ้นมาและตอบคำถาม ทำให้ลูกเพจรู้สึกว่าเขาไม่ใช่สื่อที่นำเสนอข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่เหมือนเป็นเพื่อนที่คอยพูดคุยกัน ซึ่งจากการพูดคุยเหล่าส่งผลให้เมื่อเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ผู้ที่ประสบเหตุกลับเลือกที่จะทักมาขอความช่วยเหลือจากเพจหมอแลบแพนด้ามากกว่าหน่วยงานรัฐ ดั้งนั้นการนำเสนอที่ดีไม่ใช่เพียงแค่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ควรสร้าง ชุมชนออนไลน์ เพื่อพูดคุย และร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงในสังคม